วิธีเลือกซื้อแอร์

   Daikin
   Mitsubishi Electric
   Panasonic
   LG
   Mitsubishi Heavy
   Saijo Denki
   Sharp
   Central Air
   Trane
   Carrier
   Samsung
   York
   Amena
   Star Aire
   Toshiba
   Hitachi
   Haier
   Eminent
   Fujitsu
   Hisense

 วิธีเลือกซื้อแอร์


 

 

ข้อพิจารณาก่อนการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ

การคำนวณขนาดทำความเย็น (Cooling capacity หรือ BTU) 
ควรเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับห้องที่จะติดตั้ง เพื่อให้ได้ความเย็นที่เหมาะสม

BTU สูงไป Compressor จะส่งผลให้ห้องมีความเย็นมากเกินไป ทำให้เครื่องต้องเดิน - หยุด บ่อยราคาเครื่องและ
ค่าติดตั้งก็สูงตามไปด้วย
สิ้นเปลืองพลังงาน
BTU ต่ำไป Compressor การทำความเย็นก็ไม่เพียงพอ และเครื่องต้องทำงานตลอดเวลาทำให้เครื่องมีอายุการทำงานสั้นลง
สิ้นเปลืองพลังงาน


ทำให้เครื่องมีอายุการทำงานสั้นลง สิ้นเปลืองพลังงาน ดังนั้นควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีความสามารถในการทำความเย็นให้เหมาะสมกับพื้นที่ห้อ

 ปัจจัยที่ควรเลือกพิจารณาเพิ่มขนาดบีทียู
1. จำนวนของห้องและหน้าต่าง
2. ทิศที่แดดส่อง
3. วัสดุหลังคาที่มีฉนวนกันความร้อนหรือไม่
4. จำนวนและประเภทของเครื่องใช่ไฟฟ้าในห้อง
 ข้อคำนึงถึงการเลือก ประเภทเครื่องปรับอากาศ

1. วัตถุดิบที่ใช้ (Material) เนื่องจากคุณภาพของวัตถุดิบมีผลต่อโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงาน 
และความคงทนของเครื่องปรับอากาศอีกทั้งในปัจจุบันมีเครื่องปรับอากาศให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ 
จึงไม่เป็นการง่ายที่จะตัดสินใจซื้อได้ทันทีดังนั้นเราจึงควรศึกษาส่วนประกอบที่สำคัญเพื่อช่วยในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ
2. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ที่นิยมใช้กันอยู่ 3 ประเภทคือ
⇒ คอมเพรสเซอร์โรตารี่ (Rotary compressor) ทำงานโดยการหมุนของใบพัดความเร็วสูง โดยมีคุณสมบัติคือ 
การสั่นสะเทือนน้อย เดินเงียบ และมีประสิทธิภาพพลังงานสูง (EER) เหมาะกับ เครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก
⇒ คอมเพรสเซอร์ลูกสูบ (Reciprocating compressor) ทำงานโดยการใช้กระบอกสูบในการอัดน้ำยา โดยมีคุณสมบัติคือ 
ให้กำลังสูง แต่มีการสั่นสะเทือนสูง และมีเสียงดัง เหมาะกับเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่
⇒ คอมเพรสเซอร์แบบScroll (Scroll compressor) พัฒนามาจากคอมเพรสเซอร์โรตารี่ ทำงานโดยใบพัดรูปก้นหอย 
โดยมีคุณสมบัติคือ มีการสั่นสะเทือนน้อย เดินเงียบและมีประสิทธิภาพพลังงานสูงกวคอมเพรสเซอร์แบบอื่นๆในระดับเดียวกัน
3. คอยล์ (Coil) ประกอบด้วยท่อทองแดง และครีบอะลูมิเนียม (Fin)
ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการระบายและดูดซับความร้อนจากอากาศ 
ดังนั้น ผู้ซื้อจึงควรพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ทำคอยล์ เช่น ความหนาของครีบ หรือการเคลือบสารป้องกัน
การกัดกร่อน เนื่องจากคอยล์ที่มีสภาพดีย่อมระบายความร้อนได้ดี 
ดังนั้นคอยล์ที่ทนทานจึงสามารถยืดอายุการใช้งานเครื่องปรับอากาศ แถมยังช่วยประหยัดพลังงานได้อีกด้วย

4.มอเตอร์พัดลม (Fan motor) เป็นส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการช่วยระบาย และดูดซับความร้อน
มอเตอร์ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศมีอยู่หลายเกรดดังนั้นผู้ซื้อจึงควรสอบถามข้อมูลของมอเตอร์เพื่อประกอบการตัดสินใจ
มอเตอร์ที่ดีควรใช้ขดลวดที่ทนความร้อนได้สูง จึงจะทำให้มอเตอร์

ทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยที่รอบ (rpm) ไม่ตกซึ่งมีผลต่อการระบายความร้อน และไม่เสียง่ายเนื่องจากความร้อนสูง

5.ระบบฟอกอากาศ (Air Purifier) ในปัจจุบันผู้ผลิตนิยมติดตั้งระบบฟอกอากาศไว้ในเครื่องปรับอากาศ
เพื่อช่วยทำให้อากาศภายในห้องมีความสะอาดบริสุทธิ์ มากขึ้น
ซึ่งระบบฟอกอากาศที่ติดตั้งมาพร้อมเครื่องปรับอากาศมีอยู่ด้วยกันหลายระบบดังนี้
⇒ การกรอง (Filtration) เป็นการใช้แผ่นกรองอากาศในการดักจับฝุ่นละอองหรืออนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่าช่องว่างระหว่างเส้นใย 
โดยที่สิ่งสกปรกจะติดค้างอยู่ที่ไส้กรอง และต้องทำการเปลี่ยนเมื่อหมดอายุการใช้งาน ตัวอย่างของระบบนี้ก็คือ HEPA 
(High Efficiency Particulate Air) ซึ่งเป็นการกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุภาคขนาดเล็กถึง 0.05 ไมครอน
ในกรณีที่ต้องการกำจัดกลิ่นในอากาศ จะนิยมใช้แผ่นคาร์บอน (Activated carbon filters) เพื่อดูดซับกลิ่นเช่น กลิ่นควันบุหรี่ กลิ่นอาหารเป็นต้น

⇒ การดักจับด้วยไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator) เป็นการใช้ตะแกรงไฟฟ้า (Electric grids)ใน การดักจับฝุ่นละอองหรืออนุภาค
โดยการเพิ่มประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาคฝุ่นละอองและใช้แผ่นโลหะอีกชุดหนึ่งซึ่ง เรียงขนานกันดูดอนุภาคฝุ่นละอองไว้ โดยที่หลังจากใช้งานไประยะหนึ่งต้องหยุดเครื่องเพื่อทำความสะอาดแผ่นโลหะ
⇒ การปล่อยประจุไฟฟ้า (Ionizer) เป็นการใช้เครื่องผลิตประจุไฟฟ้า และปล่อยออกมาพร้อมกับลมเย็นเพื่อดูดจับอนุภาคฝุ่นละออง และกลิ่น โดยประจุลบที่ปล่อยออกมาจะทำการดูดจับอนุภาคฝุ่นละอองและกลิ่น ซึ่งมีโครงสร้างเป็นประจุบวก จนกระทั่งกลุ่มอนุภาคเหล่านั้นรวมตัวกันจนมีขนาดใหญ่ขึ้น และตกลงสู่พื้นห้อง โดยกลุ่มอนุภาคเหล่านั้นจะถูกกำจัดไปพร้อมกับการทำความสะอาดพื้นห้องตามปกติ 

ดังนั้นระบบนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีการทำความสะอาด เพราะไม่มีการดักจับโดยใช้แผ่นกรอง แต่เป็นการใช้ปฏิกิริยาทางเคมี

ประจุลบ = ผลิตจากระบบฟอกอากาศ
ประจุบวก = ฝุ่นละออง กลิ่น ควัน เชื้อโรค

6. การประหยัดไฟฟ้า (Energy Saving) ในปัจจุบันมีเครื่องปรับอากาศวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด 
เพื่อตอบสนองนโยบายการประหยัดการพลังงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 จะมีประสิทธิภาพพลังงาน
(EER - Energy Efficiency Ratio) สูงกว่า และช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า แต่ข้อเสียคือมีราคาสูงกว่าเครื่องปรับอากาศธรรมดาดังนั้น 
ผู้ซื้อจึงควร เปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กับค่าไฟฟ้าในระยะยาวโดยขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง 
เช่น ส่วนต่างราคา จำนวนปีที่จะใช้งาน จำนวนชั่วโมงที่จะใช้งานต่อวันเป็นต้น

 
 
 

 

 
Link เว็บผู้สนับสนุน
ไดกิ้น  Daikin มิตซูบิชิ อิเลคทริค  Mitsubishi Electric พานาโซนิค  Panasonic แอลจี  LG มิตซูบิชิ เฮฟวี่  Mitsubishi Heavy ซัยโจเดนกิ  Saijo Denki ชาร์ป  Sharp เซ็นทรัลแอร์  Central Air เทรน  Trane แคเรียร์  Carrier ซัมซุง  Samsung ยอร์ค  York อามีน่า  Amena สตาร์แอร์  Star Aire โตชิบา  Toshiba ฮิตาชิ  Hitachi ไฮเออร์   Haier อิมิเน้นท์  Eminent ฟูจิตสึ   Fujitsu ไฮเซ่นส์   Hisense
 

    เกี่ยวกับเรา

               TNP Air ตัวแทนจำหน่ายแอร์ชั้นนำทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ขายปลีก / ส่ง ทั่วประเทศ  ราคาถูก สั่งจากโรงงานผู้ผลิต รับติดตั้งแอร์บ้าน+แอร์สำนักงาน ซ่อม ย้าย ล้างแอร์บ้าน+แอร์สำนักงาน แอร์โรงงาน ล้างเครื่องปรับอากาศ ระบบ VRV / VRF





ช่องทางติดต่อ ฝ่ายขาย

Office : 02-175-3253,02-175-3037
Mobile : 099-636-2928, 081-805-7066
Fax : 02-175-3321 เบอร์ตรง 02-060-9898 02-060-9898 เบอร์ตรง 02-060-9898 เบอร์ตรง
Email : tnpair@hotmail.com








Facebook

ติดตามเราได้ที่ :





ทะเบียนพาณิชย์ : 0105553049384
©CopyRight By www.tnpair.com